วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

Tuk Tuk

Background


รถตุ๊กตุ๊ก หรือชื่อเรียกทางราชการว่า "รถสามล้อเครื่อง" เริ่มแรกเป็นการนำรถสามล้อเครื่อง กระบะบรรทุกจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาดัดแปลง เข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกปี พ.ศ. 2503 เพื่อทดแทน รถสามล้อถีบ ซึ่งถูกห้ามวิ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ยุคแรกๆ มีทั้งยี่ห้อไดฮัทสุ ฮีโน่ มาสด้า มิตซูบิชิ ปัจจุบันเหลือเพียง ไดฮัทสุ  ทุกวันนี้ประเทศไทยได้ ผลิตและส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย ในนาม "TUK-TUK" สามล้อตุ๊กตุ๊กมีบริการทั่วไปทุกจังหวัด ซึ่งบางท้องที่จะมีลักษณะเฉพาะพิเศษ อย่างเช่นรถตุ๊กตุ๊กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีหน้ารถขนาดใหญ่กว่าทั่วไปจะเรียกกันว่า "รถตุ๊กตุ๊กหน้ากบ"




ประวัติและความเป็นมา
ปี พ.ศ. 2500 ประเทศญี่ปุ่นเริ่มจำหน่ายรถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ (Daihatsu) รุ่นมิดเจ็ท ดีเค (Midget DK) เป็นรถสองจังหวะ (ZA 250cc) มีไฟหน้าหนึ่งดวง และมีที่จับบังคับเหมือนรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นรถต้นแบบรถตุ๊กตุ๊กของไทย
ปี พ.ศ. 2503 ประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ารถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ รุ่นมิดเจ็ท ดีเคจากญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก เป็นจำนวน 30 คัน บรรทุกมาทางเรือขึ้นที่ท่าเรือคลองเตย และนำออกจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในย่านเยาวราช โดยคนไทยในยุคนั้นเรียกกันว่า "สามล้อเครื่อง" ต่อมาภายหลังเศรษฐกิจไทยดีขึ้น จึงเพิ่มการนำเข้ารุ่นมิดเจ็ท เอ็มพี 4 (Midget MP4) ซึ่งเป็นรถรุ่นใหม่ที่เพิ่มส่วนประตูสองข้าง โดยได้ทำการขยายการจำหน่ายไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดตรังด้วย รถรุ่นนี้จึงเป็นรถต้นแบบของรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งกันอยู่ในปัจจุบันของทั้งสอง จังหวัด และเมื่อรถบรรทุกสามล้อได้รับความนิยมจากคนไทย จึงมีการนำเข้ารถยี่ห้ออื่นๆตามมา
ในประเทศไทยยุคแรก รถตุ๊กตุ๊กที่มีใช้คือยี่ห้อไดฮัทสุ  ฮีโน่  มาสด้า  มิตซูบิชิ  ซึ่งตกอยู่ราวคันละ เกือบ 2 หมื่นบาท (ปัจจุบันราคาถึงหลักแสน ปัจจุบันเหลือเพียง ไดฮัทสุ) สมัยก่อนรถตุ๊กตุ๊กมีทางให้ผู้โดยสารขึ้นลง 2 ด้าน แต่เปลี่ยนมาขึ้นลงทางเดียวเพื่อความปลอดภัย วิวัฒนาการจากการนำรถสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากญี่ปุ่นเข้ามาดัดแปลง โดยเอามาต่อหลังคาเพิ่มไว้สำหรับนั่งโดยสารและขนของได้ จนปี พ.ศ. 2508 ทางราชการเตรียมยกเลิกรถตุ๊กตุ๊กเนื่องจากเห็นว่าเป็นรถที่มีกำลังแรงม้าต่ำ แล่นช้า เกะกะกีดขวางทางจราจร แต่สุดท้ายก็สามารถต่อสู้ยืนหยัดอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้เป็นเวลาเกือบ 50 ปี แล้ว
ปี พ.ศ. 2515 ประเทศญี่ปุ่นเลิกผลิตรถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ รุ่นมิดเจ็ท ดีเค ทำให้อะไหล่ของรถรุ่นนี้ขาดตลาด ซึ่งสร้างความเดือดร้อนแก่เจ้าของรถเป็นอย่างมาก ทำให้อู่รถต่างๆเริ่มผลิตอะไหล่ทดแทนเอง และหลังจากนั้นคุณจำรัส โวอ่อนศรีได้ตั้งโรงงานผลิตอะไหล่รถตุ๊ก ตุ๊ก แห่งแรกที่ริมทางรถไฟสายเก่า คลองเตย ผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถออกจำหน่าย โดยใช้ชื่อว่า วัฒน์การช่าง ต่อมาใช้ชื่อว่า บริษัท วัฒน์ อุตสาหกรรมจำกัด ทำการเปลี่ยนป้ายชื่อยี่ห้อรถรุ่นต่างๆท้ายรถตุ๊กตุ๊กเป็นคำว่า "THAILAND" และยังคงอยู่จวบจนปัจจุบัน หลังจากนั้นอนันต์ สุภัทรวนิชย์  ซึ่งประกอบอาชีพขายน้ำมันเครื่องให้กับอู่ ตุ๊ก ตุ๊ก ต่างๆในกรุงเทพฯ เห็นโอกาสในตลาดจึงเปิดโรงงานขึ้นโดยใช้ชื่อพลสิทธิ์ตุ๊ก ตุ๊ก ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Tuk Tuk Forwarder
ปี พ.ศ. 2522 รัฐบาลออกกฎหมายบังคับให้รถบรรทุกสามล้อ หรือสามล้อเครื่อง หรือรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งให้บริการขนส่งโดยสารจะต้องทำการจดทะเบียนขอรับใบ อนุญาต "รถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสาร" โดยต้องผ่านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกภายใต้ต้นสังกัดในรูปของบริษัทเสียก่อน จึงจะสามารถยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตนี้ได้ และจะสามารถวิ่งให้บริการได้เฉพาะในพื้นที่ที่กำหนดให้เท่านั้น
ปี พ.ศ. 2530 รถตุ๊กตุ๊กถูกจำกัดจำนวน ทางราชการออกกฎห้ามจดทะเบียนรถตุ๊กตุ๊กรับจ้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และนครราชสีมา แต่อนุโลมให้กับรถตุ๊กตุ๊กส่วนบุคคลที่นำไปประยุกต์ใช้งานเฉพาะอย่างได้ ซึ่งในปัจจุบันมีรถตุ๊กตุ๊กวิ่งอยู่ในกรุงเทพรวมกันประมาณ 7,405 คันเท่านั้น และถ้ารวมๆ กันทั้งประเทศ จะมีรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งอยู่ประมาณ 3 หมื่นกว่าคัน   นอกจากคนไทยจะเริ่มประกอบรถตุ๊กตุ๊กใช้ในประเทศได้เองแล้วยังผลิตเพื่อส่งออกไปประเทศอื่นๆ ด้วย อาทิ อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท แถมยังกลายเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย  นี่เองเลยกลายเป็นที่มาของชื่อเรียก  "ตุ๊กตุ๊ก" เพราะเดิมทีชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองไทยไม่รู้จะเรียกรถสามล้อเครื่องว่าอะไร  เลยอาศัยเรียกชื่อตามเสียงท่อไอเสียของรถ กลายเป็นชื่อ "รถตุ๊กตุ๊ก" ติดปากมาถึงวันนี้
ปี พ.ศ. 2552 Daniel Snaider และ Susie Bemsel คู่รักชาวเยอรมนี ได้ทำลายสถิติโลก (Guinness World Record 2009) สร้างชื่อเสียงให้กับรถตุ๊ก ตุ๊กไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้รถตุ๊กตุ๊กจากบริษัทเอกซ์เพอร์ทีสจำกัด ด้วยสถิติระยะทางที่ไกลที่สุดในโลก เริ่มเดินทางจากไทยไปกัมพูชา ลาว ญี่ปุ่น รัสเซีย มองโกเลีย ตุรกี อียิปต์ อิตาลี ฝรั่งเศส และกลับไปสิ้นสุดที่ประเทศเยอรมนี

ความเป็นมาและวิวัฒนาการของรถสามล้อชนิดต่างๆ
รถสามล้อพ่วงข้าง
ปี พ.ศ.2476 "รถสามล้อ" ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่ จ.นครราชสีมา โดย นาวาอากาศเลื่อน พงษ์โสภณ นำรถลาก หรือรถเจ็ก มาดัดแปลงร่วมกับจักรยาน ถือเป็นต้นแบบของรถสามล้อที่ใช้รับผู้โดยสารแพร่หลาย ไปทั่วประเทศ ต่อมามีผู้นำจักรยานมาเพิ่มล้อและกระบะพ่วงเข้าที่ด้ านข้าง ติดตั้งเก้าอี้หวายยึดแน่นกับกระบะ ออกวิ่งรับจ้าง นับเป็นต้นแบบของ "สามล้อพ่วงข้าง" ซึ่งปัจจุบันยังใช้อยู่ในจังหวัดภาคใต้

ซาเล้ง หรือ สามล้อแดง
เพื่อทุ่นแรงและสามารถรับส่งผู้โดยสารได้ในระยะที่ไก ลขึ้น นักประดิษฐ์ชาวไทยได้ดัดแปลงนำเครื่องจักรยานยนต์มาติดกับรถสามล้อแบบที่ใช้คนถีบ ได้รับความนิยมแพร่หลาย เพราะนอกจากไปได้ในระยะทางไกลกว่าแล้ว ความรวดเร็วก็เป็นส่วนสำคัญ ทุกวันนี้ "สามล้อเครื่อง" ยังเกลื่อนเมือง ตามด้วย "ซาเล้ง" หรือสามล้อแดง ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ส่งสินค้าที่มีน้ำหนักไม่มาก ระยะทางไม่ไกลนัก เป็นสามล้อใช้แรงถีบ ผู้ขับขี่อยู่ด้านหลังกระบะบรรทุก

รถตุ๊กตุ๊ก
"รถตุ๊กตุ๊ก" กำเนิดจากการนำสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากญี่ปุ่นเข้ามาดัดแปลงเป็นรถนั่งโดยสาร เมื่อปี พ.ศ.2503 เพื่อทดแทนรถสามล้อถีบซึ่งถูกห้ามวิ่งในเขตกรุงเทพฯ ทุกวันนี้เราผลิตได้เองแล้ว และส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย ในนาม "TUK-TUK" สามล้อตุ๊กตุ๊กมีบริการทั่วไปทุกจังหวัดและเป็นที่นิ ยมเป็นอย่างยิ่งของทัวริสต์

รถตุ๊กตุ๊กสองแถว
วิวัฒนาการมาจากตุ๊กตุ๊กธรรมดา ดัดแปลงเบาะนั่งด้านหลังเป็นที่นั่งสองแถวเพื่อรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก พบเห็นได้ตามแหล่งชุมชนอย่างท่ารถโดยสาร ท่าเรือข้ามฟาก ตลาดสด และด้วยฝีมือไทยประดิษฐ์ ได้มีการนำรถตุ๊กตุ๊กธรรมดามาดัดแปลงประดับตกแต่งสวย งามทั้งตัวถัง วงล้อ เบาะนั่ง แผงหน้าปัด กระบังหน้า เครื่องยนต์เปลี่ยนจาก 2 เป็น 4 จังหวะ จากตุ๊กตุ๊กธรรมดาก็กลายเป็น "ตุ๊กตุ๊กเดอลุกซ์" บริการในจังหวัดภาคตะวันออก
สามล้อสกายแล็บ
เมื่อครั้งสถานีอวกาศ "สกายแล็บ" ได้เป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก คนไทยร่วมฮิตด้วยการประดิษฐ์สามล้อและเรียกชื่อตามสมัยนิยมว่า "สามล้อสกายแล็บ" โดยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ จ.อุดรธานี ก่อนแพร่ไปจังหวัดต่างๆ ทั่วอีสาน เป็นสามล้อที่ใช้กำลังเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ ที่นั่งโดยสารตอนหลังเป็นสองแถว จุดเด่นคือสีสันสดใส และช่วงหน้าเชิดสูง

รถสามล้อแบบมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง
เมื่อมอเตอร์ไซค์รับจ้างถือกำเนิดและแพร่หลายไปทุกท้ องถิ่น ก็มีแนวคิดว่าทำอย่างไรจึงจะรับผู้โดยสารได้ครั้งละหลายๆ คน รถสามล้อแบบมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างจึงถูกประดิษฐ์ขึ้น เมื่อไม่ออกรับจ้างผู้โดยสารก็สามารถถอดเฉพาะตัวรถขั บขี่ไปทำธุรกิจได้ ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เรียกสามล้อแบบนี้ว่า "ไก่นา"

SWOT
Strengths
            -  เป็นรถที่มีมานานในประเทศไทย  ดังนั้นจึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป  รวมไปถึงชาวต่างชาติ
            -  ชื่อที่เรียกว่ารถตุ๊กตุ๊ก เป็นชื่อที่เรียกง่าย  และติดปากของคนทั่วไป   
-  เนื่องจากรถตุ๊กตุ๊ก มีลักษณะแบบเปิดด้านข้าง (open air)  จึงทำให้สามารถรับลม  และธรรมชาติได้รอบด้าน
Weaknesses
            -  เป็นรถที่มีกำลังแรงม้าต่ำ แล่นช้า เกะกะกีดขวางทางจราจร 
            -  เสียงของรถตุ๊กตุ๊ก มีเสียงดัง  และก่อให้เกิดความน่ารำคาญ
            -  มีที่นั่งสำหรับผู้โดยสารน้อย      
Opportunities
            -  เนื่องจากมีการเปิดเขตการค้าเสรี (AFTA) บริษัทเราจึงเล็งเห็นถึงโอกาสในการขยายตลาดออกสู่ประเทศอาเซียน
            -  รถของเรามีเทคโนโลยี Hybrid จึงทำให้เป็นที่น่าสนใจของตลาดยุคใหม่  ที่ใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม
            -  ที่นั่งของรถตุ๊กตุ๊กมีขนาดที่กว้างกว่ารถตุ๊กตุ๊กแบบเก่า
 Threats
            -  มีบริษัทคู่แข่งที่ผลิตรถตุ๊กตุ๊กทั้งแบบส่งออก  และให้เช่า ในประเทศไทยหลายบริษัท
            -  ค่านิยมคนสมัยเก่ายังยึดติดอยู่กับแบบเดิมๆ
            -  ราคารถตุ๊กตุ๊กของเรามีราคาสูงกว่ารถตุ๊กตุ๊กสมัยก่อน

กลยุทธ์ที่ใช้ในการทำการตลาด 
 
          เราจะใช้กลยุทธ์ Product  Standardization  คือเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และส่วนประสมการตลาดที่มีมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย ในส่วนที่ปรับปรุงจะเป็นเรื่องของตราสินค้าเมื่อเข้าไปทำตลาดในประเทศ ASEAN แล้วแต่ความต้องการของแต่ละประเทศ โดยตัวผลิตภัณฑ์ของรถตุ๊กตุ๊ก นั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่น คือ รุ่นเกียร์ Auto และ รุ่นเกียร์ Manual ซึ่งจะนำเสนอรูปแบบของผลิตภัณฑ์เหมือนกันในทุกประเทศ โดยเริ่มแรกจะเข้าไปทำตลาดกับ 3 ประเทศก่อนนั่นคือประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม และประเทศลาว จะทำการส่งออกตัวผลิตภัณฑ์ไปตามเมืองหลวง  หัวเมืองใหญ่ๆ และเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของประเทศนั้นๆ  หลังจากนั้นจึงค่อยๆเข้าไปทำตลาดในกลุ่มประเทศ ASEAN ที่เหลือต่อไป

กลยุทธ์การสื่อสาร
กลยุทธ์ทางการสื่อสาร จะสื่อสารแบบ Glocal คือมีแนวคิดเดียวกันทั่วโลกแต่จะใช้กลวิธีที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ หรือบางครั้งการทําโฆษณาหรือการสื่อสารการตลาดแบบอื่นอาจสามารถนําไปใช้ในกลุ่มประเทศที่มีลักษณะวัฒนธรรมหรือรูปแบบการดําเนินชีวิตที่คล้ายกัน หากใช้ภาษาเดียวกันก็สามารถนําไปใช้ได้เลย แต่หากใช้ต่างภาษากันอาจต้องมีการเปลี่ยนภาษาเพื่อทําให้กลุ่มเป้าหมายในประเทศนั้นๆ เข้าถึงตัวโฆษณาได้

กลุ่มเป้าหมาย
-          กลุ่มเป้าหมายหลัก
                      กลุ่มเจ้าของกิจการรถเช่า
-          กลุ่มเป้าหมายรอง
                      กลุ่มผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของรถตุ๊กตุ๊กเอาไว้ขับเล่น หรือเพื่อไว้ประกอบอาชีพ

4P’s Strategy
Product
-  รูปทรงทันสมัยขึ้น
-  มีที่นั่งรองรับผู้โดยสารเพิ่ม1ขึ้น
-  เครื่องยนต์ Hybrid 600 cc
-  เกียร์ Auto และ เกียร์ Manual 
-  มี ABS เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
-  หลังคาสามารถเปิดได้ 

Price
-  เกียร์ Manual ราคา 119,999 บาท
-  เกียร์ Auto ราคา 139,999 บาท
Place
-  ตลาดหลักจะอยู่ที่ประเทศไทย ซึ่งมีการจำหน่ายที่โชว์รูม ทำการเปิด 2 สาขาคือ ถนนข้าวสาร และถนนปทุมวัน
-  ส่งออกไปยังเมืองจาการ์ต้า  เมืองสุราบายา เมืองบันดุง เมืองเมดาน  และหมู่เกาะบาหลีของประเทศอินโดนีเซีย 
-  ส่งออกไปยังเมืองหลวงพระบาง นครเวียงจันทร์  เมืองจำปาศักดิ์ของลาว
-  ส่งออกไปยังเมืองฮานอย โฮจิมิน ฮอยอัน ฮาลองเบย์ ซาปา ของเวียดนาม 
Promotion
โปรโมชั่นสำหรับบุคคลทั่วไป
- ดาวน์ต่ำ 0% ผ่อนนานสูงสุด 12 เดือน
-  รับประกันอะไหล่  1 ปี 
-  ภายในระยะเวลา 1 เดือน หากพบว่ารถมีปัญหา ทางบริษัทจะทำการเปลี่ยนคันใหม่ให้ แต่   ปัญหานั้นต้องเกิดจากความบกพร่องในการผลิตของบริษัทเท่านั้น
โปรโมชั่นสำหรับผู้ประกอบการ
-  สำหรับเจ้าของกิจการจะได้รับส่วนลด 10 % เมื่อซื้อสินค้าครบตามเงื่อนไขของบริษัท
-  รับประกันอะไหล่  1 ปี 
-  ภายในระยะเวลา 1 เดือน หากพบว่ารถมีปัญหา ทางบริษัทจะทำการเปลี่ยนคันใหม่ให้ แต่   ปัญหานั้นต้องเกิดจากความบกพร่องในการผลิตของบริษัทเท่านั้น

การวางแผนสื่อ
เนื่องจากรถตุ๊กตุ๊ก เป็นสินค้าที่เกี่ยวโยงกับวัฒนธรรม  จึงใช้การวางแผนสื่อแนวตั้ง  (Vertical Planning) ซึ่งจะเน้นการใช้สื่อสื่อท้องถิ่นเป็นหลัก เพื่อทําให้กลุ่มเป้าหมายในประเทศนั้นๆ เข้าถึงตัวโฆษณาและเข้าใจในตัวโฆษณาได้เป็นอย่างดี 

การวางแผนสื่อโฆษณา
สื่อ  Above the line
-  TVC เปิดตัวรถตุ๊ก ตุ๊ก ตามสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น ของแต่ละประเทศ
-  ทำ billboard เพื่อเป็นการโฆษณาเปิดตัวรถตุ๊ก ตุ๊ก ตามเมืองต่างๆของแต่ละประเทศ
สื่อ Below the Line
-  ส่ง Direct mail ไปยังสถานทูตประเทศลาว เวียดนาม และอินโดนีเซีย เพื่อเป็นการติดต่อทำธุรกิจส่งออกรถตุ๊ก ตุ๊ก
-  จัด road show เพื่อเปิดตัวรถตุ๊ก ตุ๊ก ประหยัดพลังงาน  รูปแบบใหม่  ในกรุงเทพฯ และขับตระเวนรับผู้โดยสารแถวสยาม  มาบุญครอง  และถนนข้าวสาร  เพื่อให้เกิดเป็น talk of the town
-  จัด road show พร้อมกันทั้ง 3 ประเทศ ในวันและเวลาเดียวกัน และทำการขับรถตุ๊กตุ๊กตระเวนไปยังใจกลางเมืองที่สำคัญของแต่ละประเทศ
-  จัด Event เปิดตัวในงาน Motor show เพื่อนำเสนอนวัตกรรมใหม่ของรถตุ๊กตุ๊ก
            -  ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และ นิตสารที่เกี่ยวกับรถยนต์ 


ตัวอย่างสื่อที่ใช้ลงโฆษณานิตยสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น